นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต
สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓หน) ระลึกพระคุณพระรัตนตรัยเจ้า
ทานะปารมี ทานะอุปะปารมี ทานะปรมัตถะปารมี
ศีลปารมี ศีลอุปะปารมี ศีลปรมัตถะปารมี
เนกขัมมะปารมี เนกขัมมะอุปะปารมี เนกขัมมะปรมัตถะปารมี
ปัญญาปารมี ปัญญาอุปะปารมี ปัญญาปรมัตถะปารมี
วิริยะปารมี วิริยะอุปปะปารมี วิริยะปรมัตถปารมี
ขันติปารมี ขันติอุปะปารมี ขันติปรมัตถปารมี
สัจจะปารมี สัจจะอุปปะปารมี สัจจะปรมัตถะปารมี
อธิฐานปารมี อธิฐานอุปะปารมี อธิฐานปรมัตถะปารมี
เมตตาปารมี เมตตาอุปปะปารมี เมตตาปรมัตถะปารมี
อุเบกขาปารมี อุเบกขาอุปะปารมี อุเบกขาปรมัตถะปารมี
โยโส ภควา อิติปิ
ทานะปารมี โยโส ภควา อิติปิ
ทานะอุปะปารมี โยโส ภควา อิติปิ
มหาทสะ พลังพลา ปัญญัง
ปัญญา เดชังเดชา ปุญญัง ปุญญา สีลังสีลา อุคคิตัง
อุคคิตา
สัมปปันโน โสภะคะวา อิติปิ
เวทิตัพพัง เวทิตัพโพ
มหาทสะ พลังพลา ปัญญัง ปัญญา ภาวนังภาวนา
เดชังเดชา ปุญญังปุญญา สีลังสีลัญจะ
คุณาคุณันจะ เหตุ ปัจจโย สัมปันโน โส ภควา อิติปิ
อุตตะมัง อุตตะมา
มหาทสะ พลังพลา ปัญญังปัญญา ภาวนังภาวนา เดชังเดชา ปุญญัง ปุญญา สีลังสีลัญจะ
คุณาคุณันจะ เหตุ ปัจจโย สัมปันโน โส ภควา อิติปิ
สุขุมัง สุขุมา
มหาทสะ พลังพลา ปัญญังปัญญา ภาวนังภาวนา เดชังเดชา ปุญญัง ปุญญา สีลังสีลัญจะ
คุณาคุณันจะ เหตุ ปัจจโย สัมปันโน โส ภควา อิติปิ
พุทธัสสะ สัมพุทโธ มหาทสะ พลังพลา มุนีมุนา มหาคุณะ ราชังราชา
ปัญญังปัญญา เดชังเดชา ปุญญังปุญญา สีลังสีลัญจะ คุณาคุณันจะ อุคคิตัง อุคคิตา
สาธิหิตะ จริยา สัมปันโน โส อิติปิโส ภควา
อิติปิ สมะติงสะ ปารมีโยปริโต โสภควา อิติปิ
ประวัติพระธรรมบทนี้
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต
สัมมาสัมพุธธัสสะ เอวัมเมสุตัง เอกังสะมะยัง ภควา
ยังมีกาลหนึ่งวันนั้น
สัพพัญญูพระพุทธเจ้าแห่งเรา สถิตสำราญเหนือจอมเขาคิชกูฏ
อันมีในที่จิ่ม (ซึ่งอยู่ใกล้เคียง) เมืองราชคฤห์ พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ๑,๒๕๐
ตน ย่อมเป็นอรหันตาทุกองค์ เว้นไว้แต่มหาอานันทะเถระเจ้า (พระอานนท์)
องค์เดียวที่เป็นเสขบุคคล สักโก เมื่อนั้น พญาอินทรา เทวบุตร ทั้งหลายได้ยิบ(สิบ)
หมื่นตน และ ท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ตนก็มา
เทวบุตรอยู่ชั้นฟ้าจตุมหาราชิกา ได้ยิบหมื่นตนก็มา มหาพรหมชื่อสะหัมปะฏิ และ พรหม
ทั้งหลายได้ยิบหมื่นตนก็มา พรหมทั้งหลายอันอยู่ในสุทธาวาทก็มาไหว้พระพุทธเจ้า
กับทั้งพระอรหันตาเจ้าแล้วก็นั่งอยู่ที่ควรแก่ตนแล อะธะโข เมื่อนั้น
พระพุทธเจ้าก็กล่าวแก่มหาสารีบุตร และ เจ้าสุภูติสสะเถระ
อนุญาตให้สำแดงยังปัญญาบารมี แห่งพระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายได้บำเพ็ญแล้ว
จึงได้ตรัสรู้พระโพธิญาณ และ ปันเจกโพธิญาณ
อรหันตาสาวกบารมีญาณอันมีปัญญาบารมีแควน(เลิศ) ยิ่งกว่าบารมีทั้งมวล
มหาเถระเจ้าทั้งสองก็ปุจฉาวิสัชชะนาเห็นยังปัญญาบารมีแควนยิ่งกว่าบารมีทั้งหมดและแม้นว่าบุคคลหญิงชายทั้งหลายได้สาธยาย(ท่อง)
จำเริญภาวนาเทียรย่อม (มักจะ) รักษาบุคคลผู้นั้น
ให้จำเริญด้วยข้าวของสมบัติในชั้นฟ้า และ เมืองคน และ
โลกุตระสมบัตินิพพานเจ้านั้นก็มีแหละ พระปํญญาบารมีธรรมนี้ ย่อมเป็นคุณแก่บุคคลหญิงชายทั้งหลาย
บุคคลใด
ได้เรียนได้สาธยายไว้ไหว้บูชาครบยำ(เคารพยำเกรง)ไว้เป็นของขลังเป็นยันต์อันวิเศษนั่นแหละ
ด้วยเดชะบารมีธรรมเจ้าจะรักษาให้บุคคลผู้นั้นจำเริญด้วย อายุ วรรณะ
มีตนอันเลางาม(สวยงาม) เป็นที่รักจำเริญใจ เป็นที่ควรเล็งแลมองจ้องแก่คนและเทวดาทั้งหาย
เทียรย่อมให้บุคคลผู้นั้นมีสุขทุกเมื่อ มีกำลัง มีผญาปัญญา อันคมกล้า เร่งเร็ว
ฉลาดเฉลียว รู้การอันผิดอันชอบทั้งมวล บุคคลผู้นั้นจักมีใจชื่นบานงาม
จักมีคำปากต้านเจียนจา (โต้ตอบเจรจากัน) ม่วน(สนุก)
เพราะนักเป็นที่รักแก่บุคคลชายหญิงทั้งหลายในโลกนี้ดีหลี(ดีจริงๆ)แหละเหตุดังอั้น
จึงว่าพระปัญญาบารมีแควนยิ่งแควนประเสริฐกว่าแก้วมณีโชติ แห่งพระยาจักรพรรดิราชนั่นแหละว่าอันที่นั้น
พระยาอินทราจึงกราบไหว้พระพุทธเจ้าว่า
ภันเต
ภควา ข้าแห่ง(ข้าแต่) พระพุทธเจ้าตน(ผู้) เป็นที่พึ่ง
ขอพระพุทธเจ้าจงเทศนายังปัญญาบารมีธรรมแก่ผู้ข้าทั้งหลาย
ผู้ข้าทั้งหลายจักจดจำไว้สาธยาย เพื่อให้เป็นประโยชน์และ เป็นที่จั้งที่พึ่งแก่
กุลบุตตา กุลธิดา หญิงชายทั้งหลายเถิด พระพุทธเจ้าเมื่อจะเทศนาก็กล่าวว่า ดูรา
อินทราธิราช
อันว่าปํญญาบารมีธรรมนี้ประเสริฐนักแลท่านทั้งหลายจงจักฟังจำไว้สาธยายดั่งนี้เถิด
ทานะปารมี ทานะอุปะปารมี ทานะปรมัตถะปารมี
ศีลปารมี ศีลอุปะปารมี ศีลปรมัตถะปารมี
เนกขัมมะปารมี เนกขัมมะอุปะปารมี เนกขัมมะปรมัตถะปารมี
ปัญญาปารมี ปัญญาอุปะปารมี ปัญญาปรมัตถะปารมี
วิริยะปารมี วิริยะอุปปะปารมี วิริยะปรมัตถปารมี
ขันติปารมี ขันติอุปะปารมี ขันติปรมัตถปารมี
สัจจะปารมี สัจจะอุปปะปารมี สัจจะปรมัตถะปารมี
อธิฐานปารมี อธิฐานอุปะปารมี อธิฐานปรมัตถะปารมี
เมตตาปารมี เมตตาอุปปะปารมี เมตตาปรมัตถะปารมี
อุเบกขาปารมี อุเบกขาอุปะปารมี อุเบกขาปรมัตถะปารมี
โยโส ภควา อิติปิ
ทานะปารมี โยโส ภควา อิติปิ
ทานะอุปะปารมี โยโส ภควา อิติปิ
มหาทสะ พลังพลา ปัญญัง
ปัญญา เดชังเดชา ปุญญัง ปุญญา สีลังสีลา อุคคิตัง
อุคคิตา
สัมปปันโน โสภะคะวา อิติปิ
เวทิตัพพัง เวทิตัพโพ
มหาทสะ พลังพลา ปัญญัง ปัญญา ภาวนังภาวนา
เดชังเดชา ปุญญังปุญญา สีลังสีลัญจะ
คุณาคุณันจะ เหตุ ปัจจโย สัมปันโน โส ภควา อิติปิ
อุตตะมัง อุตตะมา
มหาทสะ พลังพลา ปัญญังปัญญา ภาวนังภาวนา เดชังเดชา ปุญญัง ปุญญา สีลังสีลัญจะ
คุณาคุณันจะ เหตุ ปัจจโย สัมปันโน โส ภควา อิติปิ
สุขุมัง สุขุมา
มหาทสะ พลังพลา ปัญญังปัญญา ภาวนังภาวนา เดชังเดชา ปุญญัง ปุญญา สีลังสีลัญจะ
คุณาคุณันจะ เหตุ ปัจจโย สัมปันโน โส ภควา อิติปิ
พุทธัสสะ สัมพุทโธ มหาทสะ พลังพลา มุนีมุนา มหาคุณะ ราชังราชา
ปัญญังปัญญา เดชังเดชา ปุญญังปุญญา สีลังสีลัญจะ คุณาคุณันจะ อุคคิตัง อุคคิตา
สาธิหิตะ จริยา สัมปันโน โส อิติปิโส ภควา
อิติปิ สมะติงสะ ปารมีโยปริโต โสภควา อิติปิ
พระพุทธเจ้ากล่าวว่า ดูรา อินทราธิปัตติ มหาราช ท่านจงเรียนเอายังปารมีธรรมอันนี้ไว้เพื่อเป็นประโยชน์แก่
กุลบุตตา กุลธิดา หญิงชายทั้งหลายเถิด ว่าอั้นที่นั่น
พระยาอินทราจึงไหว้พระพุทธเจ้าว่า
ภันเต
ข้าแด่ สัพพัญญูพระพุทธเจ้า กุลบุตตา กุลบุตธิดา หญิงชายทั้งหลาย หมู่ใด
ได้เรียนได้เขียนไว้ไหว้ จะมีพลาอานิสงส์ดั่งฤา
พระพุทธเจ้า
จึงกล่าวว่า ดูรา อินทราธิราช บุคคลผู้ใด ได้สร้างได้เขียน ได้เรียน
ได้สาธยาย(ท่อง) บารมีธรรมอันนี้ บ่ห่อนว่าจะตาย(ไม่ค่อยจะตาย) ด้วยหอก ดาบไม้ค้อน
ก้อนดินสักครั้งแหละ เหตุว่าได้กระทำพ่ำแพง(บำเพ็ญ) ปารมีธรรมอันประเสริฐ
แม้นท่านผู้อื่น คือว่า เสนาอำมาตย์ผู้ใหญ่จักข่มเหง เต๋งแป๊ะ (ชนะ) บ่ได้ แม้นว่า
อุปัทวอันตรายทั้งหลายทั้งปวงก็จักระงับกลับกลายหายเสียแก่บุคคลผู้นั้น
เหตุปัญญาปารมีธรรมเจ้าหากรักษาแล ราชาปิ แม้นท้าวพญาผู้ใหญ่ กัณหัน(เห็น)
ก็ชื่นชมบานงามใคร่ปากต้านเจียนจากับผู้นั้นแหละแม้นไปที่เกรง(น่ากลัว)
สัตว์ทั้งหลายก็ไม่อาจจะกระทำให้เป็นอันตรายได้แล
ยามนั้น
อัญดิตถีย์ (ลูกศิษย์เทวทัต) ทั้งหลายปองร้ายมักใคร่ข่มเหงพระพุทธเจ้าเขาก็เข้ามาใกล้พระพุทธเจ้า
ณ ที่นั้น พระยาอินทราเล็งเห็น (มองเห็น) อัญดิตถีย์ ทั้งหลายเข้ามาสู่พระพุทธเจ้าดังอั้น
พระยาอินทร์
รู้ใจคนิง(คิด,นึกในใจ)แห่งอัญดิตถีย์นั้นว่ามักใคร่ข่มเหงพระพุทธเจ้าจะแหละปัญญาปารมีที่เราได้เรียนมาแต่สำนักพระพุทธเจ้าแล้วเราจะระลึกถึงจะสังวัธยาย(สาธยาย)
อย่าให้มันเข้ามาใกล้ได้เถิด พระยาอิทราก็สังวัธยาย(ท่อง) ปัญญาปารมีธรรมแท้
เมื่อนั้น อัญดิตถีย์ทั้งหลายก็ครบยำ(เคารพ) พระพุทธเจ้าแล้ว ก็หลีกฟีกหนีไปนั่นแหละ
เมื่อนั้นพระพุทธเจ้า กล่าวว่าดูรา สารีบุตร พระยาอินทรารู้ใจ อัญดิถีย์ ทั้งหลาย
อันจะมาข่มเหมเตงเต็ก (บังคับ) พระตถาคต ก็สังวัธยายปัญญาปารมี
อัญดิถีย์ทั้งหลายก็รวด(เลยไป) ถอยหนีไม่อาจจะอยู่ได้แหละ
เมื่อนั้นพระยามารผู้เป็นปาปะบุคคล(คนใจบาป)
คะนึงใจว่า บรรษัท (พุทธบริษัท) ทั้งสี่หมู่ ทั้งกามาวจระเทวบุตร และ
รูปาวจระเทวบุตรทั้งหลาย ชุมนุมกันในที่นั้นมากนักฉะนั้น เราจะไปกวนก๋า (รบกวน)
เพื่อจะให้เขาละทิ้งพระพุทธเจ้าเสียเถิด
ครั้นแล้วพระยามารก็เนรมิตหมู่จตุรงค์เสนาทั้งสี่จำพวกเข้ามาสู่พระพุทธเจ้าแหละ
ที่นั่นพระยาอินทราจึงรำพึงว่า รี้พลอำมาตย์ทั้งหลายหมู่นี้
ก็ไม่ใช่รี้พลสกลเสนาท้าวพระยาทั้งหลายมีต้น(เป็นต้น) ว่าพระยาพิมพิสารแต่เป็นรี้พลพระยามารผู้ใจบาปจะแหละว่าอั้น
พระยาอินทราก็สังวัธยายปัญญาปารมีธรรมพระพุทธเจ้าอั้นนี้ พระยามารก็ถอยหนี
ฮั่นแหละ (นั่นแหละ) เทวบุตรเทวดาทั้งหลายก็มาเรี่ยรายผาย(โรย) ดอกไม้
กาซะลองทิพย์ ตกลงมาบูชาพระพุทธเจ้ามากนัก
พระยาอินทราจึงไหว้พระพุทธเจ้าว่า
ภันเต ข้าแห่ง(ข้าแด่) พระพุทธเจ้า
ปัญญาปารมีธรรมอันนี้บุคคลผู้ใดได้สร้างได้เขียนไว้ไหว้นบครบยำดั่งอั้น
บุคคลผู้นั้นเรียกได้ว่า ได้กระทำบุญใหญ่ในสำนักแทบเท้าแห่งพระพุทธเจ้ามากนักจะแล
บุคคลผู้นั้น จะตกถ่อย(ตกต่ำ) ก็ไม่มี เรียกว่ามีบุญสมภารมากนักแท้แหละ ภันเต
ข้าแห่ง พระพุทธเจ้า บุคคลผู้ใดได้สร้างได้เขียนได้เรียนไว้สังวัธยาย(สาธยาย)ปฏิบบัติฉันนี้
จะมีอานิสงส์ช่วงนี้ช่วงหน้า (ชาตินี้ชาติหน้า) ดังฤา(อย่างใด)
พระพุทธเจ้าเทศนาว่า ดูรา อินทราธิราช สัพพัญญูตั๋นญาณ (สัพพัญญุตญาณ)
อันเกิดแก่พระพุทธเจ้าก็เหตุปัญญาปารมีแก่กล้าบวรมวล(บริบูรณ์)แล้วจงได้ตรัสรู้ฟญาสัพพัญญูตั๋นญาณ
เมื่อนั้น
มหาอานันทะเถระเจ้า (พระอานนท์) จึงไว้พระพุทธเจ้าว่า ภันเต ภควา
ข้าแด่พระพุทธเจ้าเท่า(เฉพาะ)ยกยอยังปัญญาปารามีแควนยิ่งไม่ยกยอยัง ทานปารมี
ขันติปารมีอั้นจา(ทำไม) พระพุทธเจ้าจึงกล่าวว่าปัญญาปามีธรรมนี้เป็นเก๊า(เบื้องต้น,ประธาน)แก่
ปารมีทั้งปวง มีทานะปารมีเป็นต้น มีอุเบกขาปารมีเป็นที่สุด เป็นดั่งฤา คือ
เป็นดั่งแผ่นดิน อันเป็นที่งอกงามออกมาแห่งข้าวกล้านั้น เหตุปัญญาปารมีเป็นที่ตั้งที่เกิดแห่งปารมีทั้งปวงแหละ
พระยาอินทร์ไหว้ว่า ภันเต ข้าแต่พระพุทธเจ้า บุคคลหญิงชายทั้งหลายปฏิบัติฉันนั้น
จะมีพละ(ผล)เท่าใด ขอพระพุทธเจ้าจงเทศนาให้แจ้งแก่ผู้ข้าทั้งหลายเถิด
เมื่อพระยาอินทราถามแล้ว พระพุทธเจ้าก็เทศนาว่า ดูรา อินทราธิราช หญิงชายใด
ได้เรียนจำไว้ให้มั่นแต่พระรสธรรมเจ้าก็ดี ไว้ไหว้ครบยำก็ดี
ยังปารมีธรรมอันนั้นก็จะรักษาให้บุคคลผู้นั้นพ้นจากกังวลอันตรายทั้งปวงแหละ
แม้นเทวบุตรและเทวดาทั้งหลายได้แสนโกฏิก็เข้าสู่สำนักผู้อั้น ได้สังวัธยายนั้น
แม้นบุคคลผู้นั้นเกียจคร้านสังวัธยายดั่งอั้น เทวบุตรและเทวดาทั้งหลาย
ก็เอาปัญญาปารมีให้บุคคลผู้นั้นใส่ใจสังวัธยายมากนักแหละ
ดูรา
อิทราธิราช บุคคล ผู้นั้นก็บ่หอนมีใจหดย่อ (เกียจคร้าน,แพ้)
มักว่าไม่เกรงขามในคณะหมู่บริษัททั้งหลาย เทียรย่อม(นับว่าจะ)
มีหน้าอันชื่นบานใสงาม เหตุปํญญาปารมี หากรักษาบุคคลผู้นั้น ให้มีใจอันดี
อันงามรวด เว้นจาก ปาปะธรรม เหตุเป็นอุบายอันจะมีสุขในภพชาตินี้ และ ชาติหน้า ดูกร
พระยาอิทราธิราช แม้ว่า เทวบุตรในชั้นฟ้าจตุมหาราชิกา และ ตาวติงสา (ดาวดึงส์)
อกนิษฐาพรหมก็ดี อันปรารถนาเอาโพธิญาณนั้นก็ยังเข้ามาสู่ฐานะที่อันไว้ปัญญาปารมีที่นั้นแล้ว
ไหว้นบครบยำบูชาขึ้นในเอามือ (กลับ) เทศนาสั่งสอน เทวดาทั้งหลายสืบกันไปแหละ
ดูรา
อินทราธิราช ไม่เพียงแต่บุคคลเทพยดาอยู่ในจักรวาลอันนี้สิ่งเดียว
แม้นว่าเทพยาอันอยู่ในกามาวจระแสนโกฏิจักรวาลอันปรารถนาเอาโพธิญาณอันประเสริฐนั้นดั่งอั้น
เทพยดาทั้งหลายจักเข้าไปสู่ไปหาจักรักษา ฉะนั้น บ่ห่อนมีภัยกังวล
มีภัยอันตรายอันร้ายอันนี้ก็เป็นอานิสงส์ช่วงนี้ช่วงหน้าแท้แหละ เหตุดั่งอั้น
บุคคลชายหญิง คือ คนและ เทพยดา
อสุรินทรา ครุฑ นาค ผีเสื้อทั้งหลายจุ่ง(จึง)พากันมาฟังและเรียนไว้ไหว้นบครบยำบูชาพระธรรมคือว่าปัญญาปารมีธรรมเป็นเก๊าอันยิ่ง
ไว้เทศนาสอนกันสืบไปเถิด อันนี้เป็นธรรมอันยิ่งแหละ พระตถาคตก็ให้แก่ท่านทั้งหลาย
อินทราธิราชก็ไหว้พระพุทธเจ้าว่า
ภันเต
ภควา ข้าแด่สัพพัญญูพระพุทธเจ้า บุคคลทั้งหลายดั่งฤาแหละจะรู้อย่างไรว่า คันธัพพะ
อสุรินรา ครุฑ นาค ลงมา พระพุทธเจ้ากล่าวว่า ดูรา อินทราธิราชบุคคล ชายหญิงทั้งหลาย
เห็นรัศมีอันแจ้งส่องรุ่งเรือง ในฐานะที่ใดอันหนึ่ง หอมกลิ่นคันธรสอบตลบบ่ห่อนมีในเมืองนี้ดังอั้น
ก็จึงรู้ว่าเทพยดาลงมาในที่นั้นแหละ เทียรย่อมเห็นนิมิตราฝันดันดี
คือว่าฝันหัน(ฝันเห็น) พระเจ้าและ พระปัจเจกโพธิเจ้า ฝันเห็นไม้ศรีมหาโพธิ
ฝันหันลูกศิษย์พระเจ้า ฝันเห็นปัญญาปารมี ฝันหันรูปอริยะ
ฝันหันโพธิปักขิยธรรม(พระธรรมของพระพุทธเจ้า)ฝันหันฝูงนี้
ได้ชื่อว่าฝันหันดีทุกอันแหละ อันนี้เป็นพละ (ผล) ให้มีสุขในช่วงหน้าแหละ ที่นั่น
อิทราธิราชจึงไหว้พระพุทธเจ้าว่า
ภันเต
ภควา นายะกะ ข้าแด่สัพพัญญูพระพุทธเจ้า ตนเป็นที่พึ่งแก่โลกทั้งปวง กุลบุตตา
กุลธิดา หญิงชายทั้งหลาย หากเลื่อมใสในคุณพระปารมีแท้ดั่งอั้น
ข้าก็จะรักษาบุคคลหญิงชาย ทั้งหลายฝูงนี้จะแหละ พระพุทธเจ้ากล่าวว่า ดูรา อินทราธิราช
ดีนักแหละ บุคคลผู้ใดเชื่อคุณครบยำยังปัญญาปารมีแท้มหาราชอย่าได้ละเขาเสียจุ่ง(จึง)
รักษา กุลบุตตา กุลธิดา หญิงชายหมู่นั้นให้มีสุข อย่าให้มีทุกข์กังวล
อันตรายสักนิดเถิด ดูกรอินทราธิราช
บุคคลหญิงชายผู้ใดได้สร้างได้เขียนได้เรียนไว้ไหว้นบครบยำสังวัธยายดั่งอั้น
ก็เรียกได้ว่าสร้างกองบุญราศีอันกว้างขวางมากนักในโลกนี้แกละ พระยาอินทราไหว้ว่า
ข้าแห่งพระสัพพัญญูพระพุทธเจ้า
อันว่าแก้วลูกประเสริฐ คือว่า ปัญญาปารมีธรรมนี้อยู่ในฐานะที่ใด สัตว์ และ
คนทั้งหลายไม่อาจจะกระทำร้ายได้แหละ ผี ปีศาจร้ายจะเบียดเบียนก็ไม่ได้ ดูรา
อิทราธิราช บุคคลผู้นั้นบ่ห่อนลำบากด้วยตนสักครั้งแหละ ลมเสียด พยาธิ เจ็บ ลำบาก
และงูอสรพิษก็ไม่ใกล้ได้ แม้งูอสรพิษ ขบ ต่อย กัด
แม้นนึกถึงปัญญาปารมีธรรมอยู่ใจ้ๆ(บ่อยๆ)ก็ดี ก็หากจะระงับกลับหายไปด้วยเดชะอานุภาวะ(อานุภาพ)ปารมีธรรมเจ้าแหละ
พระพุทธเจ้าสำแดงยังปัญญาปารมีว่า มีอานิสงส์พลอันมากด้วยเดชะอานุภาวะ
บุญช่วงนี้ช่วงหน้าให้แจ้งแก่เทพยดาทั้งหลายมีอินทราธิราชเป็นต้น ก็มีวันนั้นแหละ
ปัญญาปารมีธรรมสังวรรณณา(กล่าวมาแล้ว)นิตธิตา(จบ)ขียาอันกล่าว
อัปมัยยะคุณปารมีอันมีในคัมภีร์ปัญญาปารมี๘,๐๐๐ชั้น(แปดพันชั้น) อันถ้วนครบ๓๐
ก็บริบูรณ์ เท่านี้แหละ
คัดลอกจากหนังสือ
ธรรมปกิณกะ๑ หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนากิจห้วยต้ม วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ต.นาทราย
อ.ลี้ จ.ลำพูน
ขออนุญาตพิมพ์โดยไม่ได้ขอโดยตรงกับวัด
เพราะเห็นมีคุณประโยชน์เหลือล้นเพราะพระเมตตาของพระพุทธเจ้าและ หลวงปู่
จึงตั้งใจพิมพ์ถวายเป็นพุทธบูชา และ ครูบาอาจารย์ทุกท่าน ตลอดถึง บิดามารดา
ผู้มีพระคุณ พรหม เทวดา นางฟ้า ทั่วทั้งสากลจักรวาล
https://www.facebook.com/Arjarnjo
Casino Review & Ratings by Casino Guru
ตอบลบCasino 사다리 사이트 Review by Casino Guru 벳익스플로어 · Casino Rewards · Deposit Match Bonus at Red sc 벳 Dog Casino · Online Slots · Table Games · 뱃 플릭스 Bingo 유흥업소 사이트 Games · Live Dealer Games.